Skip to content

Strengthening Global Medical Research and Innovation: The Visit of Khon Kaen University’s Faculty of Medicine to Heidelberg University

 

Heidelberg, Germany – November 8, 2024 – In a significant step toward advancing global health solutions, the Faculty of Medicine at Khon Kaen University visited Heidelberg University to collaborate on groundbreaking research projects aimed at addressing global health challenges, particularly in Southeast Asia.

Led by Assoc. Prof. Dr. Chanchai Pantongviriyakul, the President of Khon Kaen University, and Ambassador Surapon Petch-vra, the delegation included key executives and researchers from Khon Kaen University, such as Assoc. Prof. Dr. Pattarapong Makarawate, Dean of the Faculty of Medicine, Prof. Dr. Pope Kosalaraksa, Director of the Clinical Research Management Unit, and Assoc. Prof. Dr. Sirirat Anutrakulchai, Vice Dean for Research and Innovation. The visit aimed to foster collaboration in medical research and innovations to tackle pressing health issues on a global scale.

 

 

Dr. Christine Neumann, an executive from Heidelberg University, welcomed the delegation and presented key research initiatives, including the PANDA (Preventing Pandemic Risk by Improving Pandemic Literacy Among Communities at the Frontline of Disease Emergence in Southeast Asia) and PANDASIA (Pandemic Literacy and Viral Zoonotic Spillover Risk at the Frontline of Disease Emergence in Southeast Asia to Improve Pandemic Preparedness) projects. Both initiatives focus on preparing Southeast Asia for future pandemics, emphasizing the region’s ongoing challenges with infectious diseases.

The PANDA project aims to enhance community knowledge in pandemic prevention, particularly in Southeast Asia, while the PANDASIA project focuses on improving medical preparedness for zoonotic diseases and mitigating the impact of environmental contaminants, such as plastics and heavy metals, which pose a serious health risk, especially to children.

During the visit, Professor Joachim Rocklöv, an expert in climate change and health, provided valuable insights into the health impacts of pollution and global warming, particularly for children living in high-risk areas.

In addition to the research discussions, the Khon Kaen University delegation presented their own significant research findings. Assoc. Prof. Dr. Pattarapong Makarawate shared research on Brugada Syndrome, a heart condition prevalent in Asia, focusing on its causes and potential treatments to reduce mortality rates in Thailand. Prof. Dr. Pope Kosalaraksa presented work on the development of a vaccine to combat dengue fever, a major health issue in Thailand, while Assoc. Prof. Dr. Sirirat Anutrakulchai shared findings on the health impacts of PM2.5 particulate matter and its connection to chronic kidney disease in Thailand.

The delegation also met with Prof. Dr. Till Bärnighausen, Director of the Heidelberg Institute of Global Health, to discuss collaboration opportunities in health economics research, which will support global health policy development.

As part of their visit, the Khon Kaen University team toured the Heidelberg University Hospital, Germany’s largest pediatric hospital, and gained insights into advanced genetic and congenital heart disease treatments, including the use of gene therapy for spinal muscular atrophy.

This visit highlights Khon Kaen University’s commitment to strengthening international partnerships and advancing medical research to tackle global health challenges, laying the foundation for sustainable, innovative solutions in the years to come.

 

 


 

การเยือนมหาวิทยาลัยไฮเดลเบิร์กของคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น เสริมสร้างความร่วมมือด้านการวิจัยและนวัตกรรมการแพทย์ระดับโลก

เมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน 2567 รศ.ชาญชัย พานทองวิริยะกุล อธิการบดีมหาวิทยาลัยขอนแก่น พร้อมด้วยท่านทูตสุรพล เพชรวรา ได้นำคณะผู้บริหารและนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยขอนแก่น เข้าร่วมโครงการวิจัยร่วมกับมหาวิทยาลัยไฮเดลเบิร์ก ประเทศเยอรมนี โดยความร่วมมือนี้จัดขึ้นเพื่อผลักดันนวัตกรรมทางการแพทย์ ตอบโจทย์ปัญหาสุขภาพระดับโลก โดยคณะผู้แทนของมหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้แก่ รองศาสตราจารย์ นพ.ภัทรพงษ์ มกรเวส คณบดีคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น พร้อมด้วยคณะผู้บริหารและนักวิจัย อันได้แก่ รองศาสตราจารย์ ดร. พญ.ศิริรัตน์ อนุตระกูลชัย รองคณบดีฝ่ายวิจัยและนวัตกรรม, ศาสตราจารย์ นพ.ภพ โกศลารักษ์ ผู้อำนวยการสถานบริหารจัดการงานวิจัยคลินิก, รองศาสตราจารย์ ดร. นพ.ดริส ธีระกุลพิศุทธิ์ ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายวิเทศสัมพันธ์และสื่อสารองค์กร, ผู้ช่วยศาสตราจารย์ นพ.นรงฤทธิ์ เกษมทรัพย์ ผู้อำนวยการศูนย์บริการทางการแพทย์ชั้นเลิศ และผู้ช่วยศาสตราจารย์ นพ.อธิบดี มีสิงห์ รองผู้อำนวยการฝ่ายคุณภาพและบริหารความเสี่ยง โรงพยาบาลศรีนครินทร์

การเยือนครั้งนี้ได้รับการต้อนรับจาก Dr. Christine Neumann ผู้บริหารจากมหาวิทยาลัยไฮเดลเบิร์ก โดย Dr. Neumann ได้นำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับโครงการสำคัญที่มหาวิทยาลัยกำลังดำเนินการอยู่ ซึ่งรวมถึง โครงการ PANDA (Preventing pandemic risk by improving pandemic literacy among communities at the frontline of disease emergence in Southeast Asia) และ โครงการ PANDASIA (Pandemic Literacy and Viral Zoonotic Spillover Risk at the Frontline of Disease Emergence in Southeast Asia to Improve Pandemic Preparedness) ซึ่งทั้งสองโครงการนี้มุ่งเน้นการเตรียมความพร้อมในการป้องกันโรคระบาด โดยเฉพาะในภูมิภาคเอเชีย ซึ่งประสบกับความท้าทายจากโรคระบาดอย่างต่อเนื่องในระดับโลก

โครงการ PANDA มีจุดมุ่งหมายเพื่อเสริมสร้างความรู้ด้านการป้องกันโรคระบาดในชุมชนที่อยู่ในแนวหน้าของการเกิดโรคระบาด และมุ่งเน้นการพัฒนาความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการป้องกันโรคในภูมิภาคเอเชีย ขณะที่ PANDASIA เน้นการเตรียมความพร้อมด้านการแพทย์ในการรับมือกับการระบาดจากสัตว์สู่คน และการเตรียมการเพื่อลดผลกระทบจากการปนเปื้อนของพลาสติกและสารพิษในสิ่งแวดล้อมที่มีผลกระทบต่อสุขภาพของเด็กในพื้นที่เสี่ยง

การประชุมครั้งนี้ได้รับเกียรติจาก Professor Joachim Rocklöv ผู้เชี่ยวชาญด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสุขภาพ มาให้ข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับผลกระทบจากมลภาวะและภาวะโลกร้อนที่มีต่อสุขภาพมนุษย์ โดยเฉพาะในกลุ่มเด็กที่อาศัยอยู่ในพื้นที่เสี่ยงสูง

ในส่วนของการแลกเปลี่ยนผลงานวิจัย คณะผู้แทนจากมหาวิทยาลัยขอนแก่นได้มีโอกาสนำเสนอผลงานสำคัญ โดย รองศาสตราจารย์ นพ.ภัทรพงษ์ มกรเวส ได้นำเสนอการวิจัยเกี่ยวกับ Brugada Syndrome ซึ่งเป็นโรคหัวใจที่พบได้มากในประชากรเอเชีย โดยมุ่งเน้นการศึกษาสาเหตุและการรักษาโรคดังกล่าวเพื่อช่วยลดอัตราการเสียชีวิตในประเทศไทย นอกจากนี้ยังได้มีการอธิบายถึงผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิที่สูงขึ้นต่ออัตราการเกิดโรคนี้

ศาสตราจารย์ นพ.ภพ โกศลารักษ์ ได้นำเสนอผลงานวิจัยเกี่ยวกับการพัฒนาวัคซีนป้องกันโรคไข้เลือดออกในประเทศไทย ซึ่งเป็นปัญหาสุขภาพสำคัญที่ยังคงท้าทายในประเทศที่มีการแพร่ระบาดอย่างต่อเนื่อง ขณะที่ รองศาสตราจารย์ ดร. พญ.ศิริรัตน์ อนุตระกูลชัย ได้นำเสนอผลการศึกษาผลกระทบของฝุ่นละออง PM2.5 ที่มีต่อการเกิดโรคไตเรื้อรัง โดยเน้นถึงผลกระทบจากมลภาวะทางอากาศและโลหะหนักในสิ่งแวดล้อมที่ส่งผลต่อสุขภาพของคนไทย

คณะผู้แทนจากมหาวิทยาลัยขอนแก่นยังได้พบกับ Prof. Dr. Till Bärnighausen ผู้อำนวยการ Heidelberg Institute of Global Health เพื่อหารือเกี่ยวกับการร่วมมือด้านเศรษฐศาสตร์สาธารณสุขและการฝึกอบรมด้าน health economics ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาแนวทางวิจัยด้านสุขภาพระดับสากล

นอกจากนี้ คณะผู้แทนได้เยี่ยมชม Heidelberg University Hospital ซึ่งเป็นโรงพยาบาลเด็กขนาดใหญ่ที่สุดในเยอรมนี และได้ศึกษาดูงานด้านการรักษาโรคทางพันธุกรรมและโรคหัวใจพิการแต่กำเนิดที่ได้รับการบำบัดด้วยวิธีการทันสมัย เช่น gene therapy ในการรักษาผู้ป่วยโรค spinal muscular atrophy

การเยือนครั้งนี้สะท้อนถึงความตั้งใจของคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ในการพัฒนาความร่วมมือกับสถาบันการศึกษาระดับโลก และเป็นก้าวสำคัญในการสร้างเครือข่ายความร่วมมือระดับสากลเพื่อพัฒนาแนวทางการแก้ไขปัญหาสุขภาพให้ยั่งยืนในอนาคต